เหตุผล 5 ประการที่ไม่ควรไปว่ายน้ำกับฉลามวาฬที่ Oslob

e0b889e0b8a5e0b8b2e0b8a1e0b8a7e0b8b2e0b8ac-5770057

การท่องเที่ยวด้วยการว่ายน้ำกับฉลามวาฬที่ Oslob เป็นที่ถกเถียงกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่ครั้งที่เริ่มมีกิจกรรมนี้ หลายคนมีความเชื่อแบบผิดๆว่าการดำน้ำกับฉลามวาฬนั้นไม่ก่อให้เกิดผลเสีย บางคนพูดด้วยซ้ำว่ามันการอนุรักษ์ ลองมาดูเหตุผลว่าทำไมเราถึงไม่สมควรสนับสนุนกิจกรรมนี้

1. Contact & interaction

นักท่องเที่ยวหลายๆคนไม่ปฏิบัติตามกฎและข้อบังคับเกี่ยวกับการว่ายน้ำกับฉลามวาฬ นอกจากนี้แล้วผู้คนที่ฝ่าฝืนกฎยังไม่ได้รับการลงโทษ

ฉลามวาฬเป็นสัตว์คุ้มครองตามข้อบังคับของฟิลิปปินส์ในหัวข้อของการอนุรักษ์และการปกป้องถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ตามธรรมชาติ เป็นเรื่องผิดกฎหมายที่คนเราจะไปรบกวนฉลามวาฬ

มีการสำรวจพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวว่าปฏิบัติตามกฎหรือไม่ จากการสำรวจทั้งหมด 3,849 นาที โดยเป็นการแบ่งสำรวจครั้งละ 20 นาทีหรือจนกว่าฉลามวาฬจะว่ายออกไป พบว่ามีการสัมผัสฉลามวาฬทั้งหมด 1,823 ครั้ง หรือเฉลี่ยสูงถึง 29 ครั้งต่อชั่วโมง

o8cql4iqpxuypnauois-o-1300537

o8cqlhid7cfwvcjbc9f-o-8615696

นอกจากนี้ยังพบอีกว่า 89% ของการสัมผัสฉลามวาฬมาจากพนักงานทัวร์หรือคนให้อาหารโดยแตะที่ปากหรือใช้เท้ายันฉลามวาฬเพื่อป้องกันไม่ให้ฉลามวาฬเข้ามาชนเรือ หลายๆครั้งที่คนให้อาหารพยายามผลักฉลามวาฬออกไปเพราะไม่ต้องการให้อาหารจนฉลามวาฬอิ่มเพื่อที่จะได้กลับมาให้อาหารฉลามวาฬอีกครั้งเมื่อมีกรุ๊ปทัวร์กรุ๊ปใหม่มา

2. Behaviour modification & injuries

การให้อาหารฉลามวาฬที่ Oslob เป็นการทำให้ฉลามวาฬเข้าใจว่าถ้ามีเรือและมนุษย์แสดงว่ามีอาหารส่งผลให้ฉลามวาฬที่ Oslob ว่ายน้ำเข้าหาเรือ แทนที่จะว่ายหนี

o8cqogjf00wbuccn2lx-o-4974249

o8cqoy290an4dmvdy80-o-1469148

เมื่อฉลามว่ายออกสู่ทะเลเปิดที่อนุญาตให้มีการทำประมงมันอาจว่าเข้าหาเรือประมง ซึ่งโดยปกติแล้วฉลามวาฬเป็นสัตว์ที่ย้ายถิ่นฐานอยู่เรื่อยๆ ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะว่ายไปเจอเรือประมงเข้า

แล้วอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ฉลามวาฬไม่ควรถูกสัมผัสจากคนหรือเรือ?

สัตว์น้ำนั้นโดยปกติแล้วจะไม่เคยได้สัมผัสกับแบคทีเรียชนิดเดียวกับที่มนุษย์ได้สัมผัส มนุษย์ทุกคนมีแบคทีเรียอยู่ที่ผิวหนัง อาจทำให้ฉลามได้รับเชื้อจากการสัมผัสที่มากเกินไปได้

การสัมผัสหรือในหลายๆครั้งเป็นการเสียดสีทำให้ฉลามวาฬบาดเจ็บได้ แผลจากการเสียดสีมีลักษณะเป็นสีขาวลักษณะคล้ายฟองน้ำเป็นรอยอยู่ใกล้ๆกับบริเวณปาก บางครั้งแผลก็ออกเป็นสีแดง

o8cqs9ro7ikaep0kgaj-o-7918621

o8cqssjandufwn5xwt5-o-4416394

เมื่อมีฉลามวาฬใหม่ๆว่ายเข้ามา พวกมันไม่มีแผลลักษณะนี้อยู่เลย แต่หลังจาก 1 สัปดาห์ผ่านไปแผลเหล่านี้ก็ค่อยๆปรากฏขึ้น นอกจากแผลที่บริเวณปากแล้วบริเวณครีบหลังก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่เกิดแผลได้บ่อย สาเหตุก็เกิดจากการเสียดสีกับเรือนั่นเอง

ที่ Oslob ไม่อนุญาตให้นำเรือที่มีใบพัดเข้าไป เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายกับฉลามวาฬ แต่เมื่อฉลามวาฬว่ายออกสู่พื้นที่อื่น มันไม่สามารถแยกแยะได้ว่าเรือลำไหนมีใบพัดหรือไม่มี นี่ส่งผลให้ในปี 2012 มีฉลามวาฬตัวหนึ่ง ได้รับบาดเจ็บจากการว่ายน้ำเข้าหาเรือที่มีใบพัด มันถูกใบพัดของเรือบาดเข้าที่ใบหน้าและดวงตา

3. Changes to migration

ฉลามวาฬเป็นสัตว์ที่มีการอพยพอยู่ตลอด โดยปกติแล้วฉลามวาฬจะว่ายน้ำตามเส้นทางโภชนาการ พูดง่ายๆก็คือฤดูไหนที่ไหนมีแพลงก์ตอนเยอะ ฉลามวาฬก็จะว่ายไปหานั่นเอง ฉลามวาฬนั้นอพยพเป็นระยะทางไกล ผ่านหลายน่านน้ำและหลายประเทศ ฉลามวาฬที่ถูกติดแทกในฟิลิปปินส์ บางตัวถูกพบว่าว่ายน้ำไปไกลถึงไต้หวัน

o8cr0ujfz8ra6asorh3-o-6522578

o8cr1iim7jyzvipqpb5-o-3113141

โดยปกติแล้ว ช่วงเวลาที่ฉลามวาฬจะเข้ามาหากินที่ Oslob มีเพียงแค่ 60 วัน ปัจจุบันนี้ มีชาวประมงนำอาหารมาให้ฉลามวาฬเพื่อล่อให้มันอยู่ แทนที่จะให้มันได้ออกไปหาอาหารที่แหล่งอื่น ในปี 2013 พบว่าฉลามวาฬตัวหนึ่ง อาศัยอยู่ที่ Oslob นานถึง 392 วัน

การรบกวนการอพยพของฉลามวาฬอาจก่อให้เกิดผลกระทบกับวงจรชีวิตของฉลามวาฬ มันอาจไม่ได้ผสมพันธุ์ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมเพราะถูกขัดขวางไม่ให้พวกมันดำรงชีวิตตามที่ควรจะเป็น ในขณะนี้ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของฉลามวาฬน้อยมาก สิ่งเหล่านี้อาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงกับดำรงเผ่าพันธุ์ของฉลามวาฬก็เป็นได้

4. Poor nutrition    

นอกจากผลกระทบในด้านการสืบพันธุ์แล้ว การที่ฉลามวาฬไม่อพยพยังก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายของฉลามวาฬเองด้วย แทนที่ฉลามวาฬจะว่ายน้ำไปยังสถานที่ต่างๆ การอาศัยอยู่แต่ใน Oslob ทำให้ฉลามวาฬเป็นโรคขาดสารอาหาร

โภชนาการของฉลามวาฬใน Oslob ยังเป็นที่กังขา ใน Oslob มีแพลงก์ตอนอยู่ 12 ชนิด ซึ่งก็ถือว่ามาก แต่เมื่อแพลงก์ตอนใน Oslob เริ่มลดลง แพลงก์ตอนจากพื้นที่อื่นๆถูกนำเข้ามาแทนที่ เช่นแพลงก์ตอนจาก llo-llo และ Bacolod ซึ่งเมื่อนำมาศึกษาแล้วพบว่ามีแพลงก์ตอนเพียงแค่ 5 ชนิด

ปัญหาฉลามวาฬขาดสาอาหารกิดจาก สารอาหารถูกทำลายไปเนื่องมาจากไม่มีการจัดเก็บแพลงก์ตอนที่ดี บางครั้งก็พบว่าแพลงก์ตอนถูกนำใส่กระป๋องส่งมาจากสถานที่ที่อยู่ไกลจาก Oslob ถึง 400 กิโลเมตร การปนเปื้อนของสิ่งแปลกปลอมอื่นๆในแพลงก์ตอน ชนิดของแพลงก์ตอนนั้นไม่หลากหลาย เนื่องจากชาวประมงรู้จักวิธีการจับแพลงก์ตอนเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น ลองคิดดูสิ ถ้าคุณต้องกินเพียงแต่เฟร้นช์ฟรายจากร้านอาหาร fast food ทุกวันแทนที่จะได้กินอาหารอย่างหลากหลายจะเป็นยังไง

o8cr7fjey2qyndung4r-o-4385603

o8cr7trsiysxunio74b-o-6077445

หลายๆครั้งที่ฉลามวาฬว่ายน้ำไล่ตามเรือที่มาให้อาหาร พวกมันต้องใข้พลังงานเยอะ แต่กลับไม่ได้รับอาหารที่ดีในปริมาณที่พอเหมาะ

5. You can see them in the wild    

ข้อสุดท้ายแต่สำคัญไม่แพ้กัน เหตุผลที่ดีที่สุดที่คุณไม่ควรไปดูฉลามวาฬที่ Oslob คือคุณก็สามารถดูฉลามวาฬได้ที่ภูมิภาคอื่นๆในฟิลิปปินส์ (และที่อื่นๆในโลกด้วย)

ยังมีสถานที่อื่นๆในฟิลิปปินส์ที่ฉลามวาฬมาปรากฏกายให้เห็น พวกมันอพยพไปตามชายฝั่ง ในภาพด้านล่างเป็นภาพที่นักท่องเที่ยวถ่ายฉลามวาฬไว้ได้เมื่อได้เจอมันในธรรมชาติ การได้พบเจอกับฉลามวาฬในธรรมชาติเป็นประสบการณ์ที่เต็มไปด้วยความตื่นตาตื่นใจและอัศจรรย์ใจ ลองนึกดูว่าระหว่างการไปดูสิงโตในสวนสัตว์ที่ถูกขังอยู่ในกรงกับการได้เจอสิงโตในซาฟารีในแอฟริกา มันเป็นความรู้สึกต่างกันที่ยากจะบอก

ดังที่สุภาษิตโบราณได้กล่าวไว้ If you love them, set them free.

o8cra4rvkkvcey0apkq-o-6349665

o8crariptex2crkwb0e-o-7817003

emoticon-dog-shihtzu-7623067 ขอฝากไว้ด้วยนะคะ สำหรับใครที่กำลังคิดจะไปดำน้ำดูฉลามวาฬที่ Oslob อย่าไปเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้คนทำร้ายมันเลย
หลายๆคนอาจคิดว่าถึงเราจะไปหรือไม่ไป ธุรกิจพวกนี้ก็มีอยู่ดี ถ้าซัก 100 คนคิดแบบนี้ กิจกรรมแบบนี้มันก็ยังมีอยู่เรื่อยๆ กลับกันถ้าซัก 1000 คนไม่คิดจะสนับสนุน ยังไงๆก็ต้องเลิกธุรกิจพวกนี้ซักวัน

อีกอย่าง ภาคใต้ของไทยเรา ทั้งฝั่งอ่าวไทย กองหินชุมพร โลซิน และ ฝั่งอันดามัน เกาะบอน ริเชลิว ก็มีฉลามวาฬว่ายเข้ามาให้ดูบ่อยๆ เราสามารถไปดูได้แบบไม่ต้องทำร้ายเค้าด้วย

ต้นฉบับ : บทความ 5 reasons not to swim with whale sharks in Oslob
ลิงค์ไปอ่านต้นฉบับ http://dive-bohol.com/conservation/5-reasons-not-go-oslob/

แปลไทยโดย : 100 years pantip

** บทความนี้รับการอนุญาตจากผู้แปลเรียบร้อยแล้ว **

Scroll to Top