1. ใช้รูรับแสงแคบ + วางขาตั้งกล้องให้ได้ระดับเสมอกัน
———————————————————————————————————————
-UV Filter ฟิลเตอร์ชนิดนี้นั้นย่อมาจาก Ultra Violet Filter คือตัวกรองแสงยูวี ดังนั้น ฟิลเตอร์ชนิดนี้จึงเหมาะสำหรับการถ่ายภาพท่องเที่ยว หรือถ่ายภาพวิวท่ามกลางแสงแดด เป็นต้น
–C-PL Filter อันนี้มีชื่อย่อมาจาก Circular Polarlize Filter คือ ตัวกรองที่ช่วยลดหรือตัดแสงสะท้อนในธรรมชาติ ทำให้ภาพมีสีสดและดูอิ่มตัวมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ลดแสงสะท้อน จากใบไม้ที่โดนแดน แสงสะท้อนจากผิวน้ำ เป็นต้น
-ND Filter ฟิลเตอร์ชนิดที่สามนี้มีชื่อย่อมาจาก Natural Density Filter คือ ตัวกรองแสงอีกประเภทหนึ่ง ที่ใช้สำหรับการลดแสงสะท้อนเช่นกัน เหมาะสำหรับการนำไปใช้ถ่ายกลางแดดจัดๆ ภาพทะเล ภาพน้ำตกที่มีแสงสะท้อนจากน้ำซึ่งมีปริมาณมากกว่าภาพทั่วไป
-Skylight Filter เป็นฟิลเตอร์ที่เหมาะสำหรับภาพถ่ายภาพคนเพราะให้สีของผิวเนื้อออกอมชมพู สวยงามมากขึ้น
5. Panorama ไม่ใช่เรื่องยาก
การถ่ายภาพแนวยาวที่เรียกว่า Panorama ในขณะไปท่องเที่ยวนั้นหลายคนอาจรู้สึกเป็นเรื่องยาก แต่วิธีการถ่ายจริงๆ ไม่ได้เป็นยากอย่างที่คิดไว้ เพียงแค่ตั้งค่ารูรับแสง และโฟกัสให้นิ่ง ในขระหว่างถ่ายห้ามเปลี่ยนค่ารูรับแสง และโฟกัสโดยเด็ดขาด จุดที่ยืนถ่ายต้องเป็นพื้นที่ตั้งกล้องได้มั่นคง ไม่เอียงหรือสั่น รวมถึงวิวที่ถ่ายภาพท่องเที่ยว ขอให้สามารถจัดองค์ประกอบภาพในแนวระนาบได้เท่านั้นเองครับ
-วัดแสงได้เท่าไหร่ set ค่านั้น โดยใช้โหมด manual เพื่อจะให้ได้ค่าเดิมทุกภาพ
– เริ่มต้นถ่ายใหม่ ควรใช้ที่ระยะ 50mm ครับ เพื่อช่วยให้ต่อกันได้สนิทครับ
– WB , iso ใช้อะไรก็ได้ครับ แต่ต้องเป็นค่าเดียวกันตลอดทุกรูป
– ใช้ขาตั้งในการถ่ายรูปประเภทนี้ครับ
– ช่วงเหลื่อมทับกันระหว่างเฟรมต่อเฟรม อยู่ที่ประมาณ 25% ของแต่ละเฟรมครับ
– จำนวนรูปที่จะใช้ทำต้องสัมพันธ์กับจำนวนองศาที่ใช้ครับ เมื่อก่อนผมถ่าย 180องศา ใช้ประมาณ 8-12 รูปครับ ที่จริงเขามีสูตรคำนวณครับ แต่ผมจำไม่ได้เสียแล้ว
– ควรถ่ายภาพท่องเที่ยวในแนวระนาบก่อนครับ พอชำนาญแล้วค่อยถ่ายในแนวตั้ง
– ใช้โปรแกรมสำหรับทำพาโนรามาโดยเฉพาะ มีให้เลือกหลายโปรแกรมครับ เช่น panorama factory ฯลฯ ช่วยในการนำรูปมาต่อกันครับ ซึ่งจะง่ายกว่าใช้ photoshop ทำครับ แต่ ก็จะกิน resource ของเครื่องมากพอดู ถ้าเป็นเครื่องที่ ram น้อย ไม่แนะนำให้ทำนะครับ