น้ำตกโกรกอีดก
เส้นทางการเดินทางก็คือเส้นเดียวกันกับที่ทางไป “เจ็ดคต” แต่ต้องเลยเข้าไปอีก 15 กิโลเมตร จึงจะถึงจุดเริ่มต้นในการเดินป่าเพื่อ มุ่งหน้าเข้าสู่น้ำตกโกรกอีดก สิ่งที่ห้ามลืมและต้องนำติดตัวมาเองนั่นก็คือ “เสบียง” ที่ต้องคิดเผื่อน้ำหนักเอาไว้ให้ดี เพราะต่อจากนี้ อีก 4 กิโลเมตร ในป่าเขา น้ำหนักที่คิดไว้ว่ามันเบา ก็เพิ่มขึ้นจนกลายเป็นหนักได้ง่าย ๆเส้นทางในช่วง กิโลเมตรแรกนั้น ไม่มี ความยากลำบากอะไรนัก เดินทรงตัวไปตามแนวก้อนหิน แล้วข้ามลำธารแรกก็จะตัดเข้าป่ารกเข้าสู่เขตภูเขา ขอแนะนำว่าผู้ที่คิด จะเดินทางมา ควรจะแต่งการให้รัดกุม เพราะในป่ารกแบบนี้สัตว์มีพิษย่อมต้องมีอยู่เป็นของคู่กัน กันไว้ดีกว่าแก้ยังคงเป็นประโยค ศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ได้เสมอ เส้นทางช่วงแรกนี้ยังสามารถเดินได้แบบสบาย ๆ สามารถพบกะบ “เห็ดแชมเปญ” ได้ไม่ยาก
หลังจากผ่านกิโลเมตรแรกไปและข้ามลำธารจุดที่สอง ป่าก็เริ่มทึบและแน่นขนัดมากขึ้น เสียงกระรอกและนกนานาชนิด ร้องรับ กันก้องป่า สารพัดแมลงก็โผล่หน้าออกมาให้เห็น ต้นไม้แปลก ๆ ก็เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไป แต่ที่น่าตื่นตะลึงมากที่สุดก็น่าจะเป็น “ต้นกระเหรี่ยง”ขนาดใหญ่ยักษ์ ที่พบเห็นได้ตลอดเส้นทาง คะเนคร่าว ๆ น่าจะ 5-6 คนโอบเลยทีเดียว
เส้นทางเลียบลำน้ำตลอดทาง บางครั้งก็ต้องตัดผ่านลำน้ำไปบ้าง ลึกที่สุดก็เท่ากับระดับหัวเข่า แต่ถ้าเป็นหน้าฝนคง ไม่ใช่แบบนี้ แน่นอน แต่ถึงจะชื้นแบบนี้ก็กลับไม่พบทากดูดเลือดเลยแม้แต่น้อย หากได้ยินเสียงน้ำตกแว่วมาให้ได้ยินบ้าง ก็แปลว่าเดินมาได้ ประมาณครึ่งทางได้แล้ว และทันทีที่สายตาได้สัมผัสกับความอลังการของ น้ำตกโกรกอีดก บอกได้คำเดียวว่าคุ้มค่าที่มาจริง ๆ
หากต้องการเดินทางไปเข้าน้ำตกโกรกอีดกในส่วนที่เป้นป่าลึกควรติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ศูยน์เจ็ดคตให้นำทางเข้าไป โดยต้องเตรียม ความพร้อมของร่างกายมาเป็นอย่างดี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด-โป่งก้อนเส้า ตำบลท่ามะปราง อำเภอแก่งคอย อำเภอสระบุรี 18110 โทรศัพท์ 08 5968 3520, 08 9237 8659
การเดินทางไปน้ำตกโกรกอีดก
น้ำตกห้วยแม่ขมิ้น
น้ำตกห้วยแม่ขมิ้น หนึ่งในน้ำตกที่ติดอันดับความสวยงามและเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวจำนวน มาก ตั้งอยู่บริเวณอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี ห่างจากอำเภอเมือง 108 กิโลเมตร น้ำตกห้วยแม่ขมิ้นมีความสวยงามเป็นอย่างยิ่ง ทั่วบริเวณร่มรื่นด้วยต้นไม้ป่านานาชนิด น้ำตกไหลมาจากต้นน้ำของเทือกเขากะลา ซึ่งเป็นป่าดิบเขาแล้งทางทิศตะวันออกของอุทยานฯ และไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์
โดยน้ำตกแบ่งออกเป็น 7 ชั้น มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไปแต่ละชั้น เช่น ชั้นที่ 1 ดงว่าน
ชั้นที่ 2 ม่านขมิ้น,ชั้นที่ 3วังหน้าผา,ชั้นที่ 4 ฉัตรแก้ว
ชั้นที่ 5 ไหลจนหลง, ชั้นที่ 6 ดงผีเสื้อ และชั้นที่ 7 ร่มเกล้า
แต่ละชั้นมีความสูงและความสวยงามต่างกันไป ทางอุทยานฯ ได้ทำเส้นทางเดินสำหรับขึ้นไปชมน้ำตกแต่ละชั้นและยังเป็นเส้นทางเดินศึกษา ธรรมชาติ
สามารถเที่ยวชมได้ตลอดทั้งปี ทั้งนี้ สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก ที่ทำการอุทยานฯ โทรศัพท์ 0 3451 6667-8
น้ำตกแม่ยะ ได้ชื่อว่าเป็นน้ำตกที่สวยอันดับต้นๆ ของไทย เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่มีความสวยงามมาก มีขนาดใหญ่ที่สุด สวยที่สุด และสูงที่สุดของของบรรดาน้ำตกในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ใครได้แวะไปดอยอินทนนท์ระหว่างขึ้นดอยไม่ควรพลาด เคยได้รับการจัดอันดับเป็นน้ำตกที่สวยที่สุดของประเทศไทยก่อนมีการค้นพบน้ำ ตกทีลอซู ที่จังหวัดตาก
สายน้ำจากลำห้วยแม่ยะตกจากหน้าผาสูงชันไหลลดหลั่นลงมาประมาณ 30 ชั้น รวมความสูงกว่า 260 เมตร ในช่วงฤดูฝนสายน้ำตกจะแผ่กว้างถึง 100 เมตร เหมือนกับม่านน้ำ แล้วไหลลงไปรวมกันที่แอ่งน้ำเบื้องล่าง ดูสวยงาม มากบางช่วงของหน้าผา เป็นชะง่อนหินให้นักท่องเที่ยวเข้าไปหลบละอองไอน้ำที่ตกกระทบมองดูเหมือน ม่านหมอกสีขาวสะอาดตา
สัมผัสกับความงดงามของธรรมชาติอีกรูปแบบหนึ่งแล้วลงเล่นน้ำที่แอ่งด้าน ล่างอย่างสนุกสดชื่น น้ำตกแม่ยะในฤดูแล้งปริมาณน้ำอาจลดน้อยลง แต่สายน้ำตกจะใสสะอาดกว่า รอบๆบริเวณน้ำตกแม่ยะ เป็นป่าไม้พรรณไม้ร่มรื่นเหมาะสำหรับการไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ ทางด้านท้ายน้ำตกแม่ยะ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ได้ติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เพื่อนำน้ำมาผลิตกระแสไฟฟ้าอีกด้วย
การเข้าไปเที่ยวเล่นน้ำตกแม่ยะ นักท่องเที่ยวต้องเสียค่าธรรมเนียม ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ที่ด่านเก็บค่าธรรมเนียม และต้องเดินเท้าเข้าอีกประมาณ 500 เมตร นักท่องเที่ยวสามารถกางเต้นท์พักแรมที่น้ำตกแม่ยะได้ แต่ต้องติดต่อขอสถานที่กางเต้นท์กับเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ด้วย
การเดินทาง
น้ำตกแม่ยะ ตั้งอยู่ในเขตอำเภอจอมทอง ห่างจากตัวอำเภอเมืองเชียงใหม่ 70 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวง 108 (สายเชียงใหม่ – ฮอด) ประมาณกิโลเมตรที่ 58 เลี้ยวขวาเข้าสู่เส้นทางหลวงหมายเลข 1009 (สายจอมทอง – ดอยอินทนนท์) ประมาณ 1 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายลัดเลาะไปตามถนนภายในหมู่บ้านที่ค่อนข้างแคบอีกประมาณ 14 กิโลเมตร สภาพถนนทางเข้ามีความลาดชัน แคบ ผิวถนนขรุขระ สามารถเข้าได้เฉพาะรถยนต์ส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์ โดยต้องใช้ความระวังระวัง
น้ำตกแม่สุรินทร์
หากนึกถึงสายน้ำสีขาวที่ทิ้งตัวลงมาจากภูเขาสูงท่ามกลางผืนป่าอันบริสุทธิ์ที่โอบล้อมโดยรอบแล้วล่ะก็ ทุกคนต้องนึกถึงอุทยานแห่งชาติแม่สุรินทร์อย่างแน่นอน เพราะที่นี่คืออุทยานแห่งชาติที่มีเสน่ห์ของสายน้ำบรรจบ กับความงามของทิวเขาได้อย่างลงตัว อุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์นั้น ครอบคลุมพื้นที่อำเภอขุนยวมและอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าเขาสลับซับซ้อน มีภูเขาหินและหน้าผาน้อยใหญ่สูงชันในลักษณะทั้งที่แตกต่างกันและคล้ายกันหลายแห่ง โดยเฉพาะที่ดอยวิดจา ดอยปุงถุ่น จะมีหน้าผาสูงชันมาก ที่นี่มีเนื้อที่ประมาณ 396.60 ตารางกิโลเมตร หรือ 247,875 ไร่ ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2524 จัดเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 37 ของประเทศ
ไฮไลท์แห่งอุทยานฯ
• น้ำตกแม่สุรินทร์ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่เคียงคู่กับทุ่งบัวตองและลำน้ำปาย น้ำตกแม่สุรินทร์เป็นน้ำตกชั้นเดียวที่ไหลลงมาจากหน้าผาสูงชันที่มีความสูงประมาณ 80 เมตร และนับเป็นน้ำตกที่สูงที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย น้ำตกสายนี้มีแม่น้ำสุรินทร์เป็นแหล่งต้นน้ำ และมีน้ำไหลตลอดทั้งปี
• น้ำตกดำข่อนหรือน้ำตกผาบ่องซึ่งเป็นน้ำตกลงมาจากห้วยดำข่อน มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชันเป็นชั้น ๆ ลดหลั่นลงมาถึง 3 ชั้น มีความสูงประมาณ 40 เมตร และด้านซ้ายของน้ำตกนี้ยังแยกเป็นน้ำตกเล็ก ๆ อีกหลายสาย
• หนองเขียวซึ่งเป็นที่ราบลุ่มบนสันเขากว้างประมาณ 200 ไร่ท่ามกลางป่าสนเขา การเดินทางมาหนองเขียวนั้น ต้องเดินเท้าจากน้ำตกแม่สุรินทร์ประมาณ 2 ชั่วโมง
• ยอดดอยปุยยอดเขารูปร่างคล้ายฝาชี ข้างบนยอดแบนราบคล้ายภูกระดึง บนนี้มีสภาพอากาศหนาวจัดทำให้มีพันธุ์ไม้เมืองหนาวขึ้นอยู่ทั่วไป การเดินทางมาที่นี่ ต้องใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 3-4 ชั่วโมง จากบ้านห้วยน้ำแม่สะกึด
เดินทางจากอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ออกเดินทางไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ไปอำเภอขุนยวม เป็นระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร จากอำเภอขุนยวมจึงเดินทางต่ออีกประมาณ 40 กิโลเมตร เข้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกแม่สุรินทร์
น้ำตกเหวนรก
น้ำตกเหวนรก เป็นน้ำตกที่มีขนาดใหญ่ มีความสูง 3 ชั้นโดยชั้นที่มีความสูงที่สุดคือชั้น 2 จากข้อมูลการสำรวจพบว่าชั้นแรกมีความสูงประมาณ 60 เมตร ชั้น 2-3 ประมาณ 150 เมตร น้ำที่ตกลงมาจากหน้าผาเป็นชั้นๆมีความชันแบบตั้งฉาก 90 องศากับพื้นดินน้ำที่ตกกระทบแต่ละชั้นและไหลลงมาสู่เบื้องล่างจึงมีเสียงกึกก้องดังชัดแม้ฟังจากระยะไกล
ที่มาของน้ำตกเกิดจากลำธารที่มีอยู่หลายสายในภาคกลางไหลมารวมกันในบริเวณนี้จากนั้นก็ตกลงมาสู่ชั้นล่างก่อนจะไหลลงไปตามเส้นทางน้ำต่อไป เพื่อความสะดวกของการเดินทางทางและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวกับสัตว์ป่าในพื้นที่ทางอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จึงได้จัดเตรียมพื้นที่พาไปยังจุดชมวิวเป็นแบบขั้นบันไดเหล็กระยะทางประมาณ 200 เมตรพร้อมทั้งสร้างคันปูนตามขอบน้ำตกเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสัตว์ป่าพลัดตกลงไปในน้ำตกซึ่งยากต่อการช่วยเหลือในภายหลัง
แม้ว่าทางอุทยานจะได้จัดพื้นที่สำหรับสำรวจและท่องชมวิวของป่าเขาใกล้กับน้ำตกแล้วทางเจ้าหน้าที่ยังปิดกั้นพื้นที่บางส่วนสงวนเอาไว้ให้เป็นพื้นที่สำหรับที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เนื่องจากนักท่องเที่ยวบางกลุ่มที่ขาดการยั้งคิดยั้งทำเดินบุกป่าเข้าไปยังพื้นที่หวงห้ามทำให้เกิดการพลัดหลงและถูกสัตว์ป่าทำร้ายโดยไม่รู้ตัวทางอุทยานจึงต้องติดประกาศห้ามเข้าในบางส่วนนั่นเอง
การเดินทางเข้าสู่บริเวณน้ำตกจะค่อนข้างยากลำบากในช่วงฤดูฝนและยังเสี่ยงต่อการพบเห็นและถูกสัตว์ป่าทำร้าย ดังนั้นนักท่องเที่ยวที่ไม่ประสงค์จะพบเจอเหตุการณ์ไม่คาดฝันควรเดินทางโดยให้ผู้ชำนาญพื้นที่เป็นผู้พาเข้าไปโดยสามารถติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของทางอุทยานเพื่อขอคนนำทางล่วงหน้า